วิธีป้องกันสภาวะโยโย่ เอฟเฟกต์ ในการลดน้ำหนัก
สภาวะโยโย่ เอฟเฟกต์ (YO-YO effect) คือ สภาวะที่น้ำหนักตัวมีการผันผวน คล้ายกับการเล่นลูกโยโย่ นั่นก็คือมีการขึ้นลงตามแรงโน้มถ่วง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการลดน้ำหนักตัว ก็คือ เมื่อน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ก็จะดีดกลับมาเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็วเช่นกัน อาจจะมากถึง 20% ของน้ำหนักเดิมก็เป็นได้ ซึ่งการลดน้ำหนักเช่นนี้ ถือว่าไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากทำให้น้ำหนักไม่เข้าสู่สภาวะคงที่ สาเหตุของการเกิด โยโย่ เอฟเฟคต์ ก็คือเกิดมาจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธีนั่นเอง โดยอาจเกิดได้จาก
- การอดอาหาร หรือ การกินไม่เป็นเวลา ส่งผลให้ระบบเผาผลาญลดลง เเละเมื่อกลับมากินอาหารเท่าเดิม ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานไม่ทัน เสียสมดุล
- ออกกำลังกายมากจนเกินไป เมื่อออกกำลังกาย ร่างกายจะนำพลังงานออกมาใช้เพื่อออกกำลังเป็นอย่างมาก เมื่อรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงเอาพลังงานจากมวลกล้ามเนื้อออกมาใช้ และจะเก็บพลังงานจากการกินอาหารไปสะสมเป็นมวลไขมันแทน
- กินยาลดน้ำหนัก ยาลดน้ำหนักมักจะออกฤทธิ์ ไปยังฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความหิว ความอิ่มทำให้เบื่ออาหาร หรือรับประทานได้น้อยลง เมื่อร่างกายกินน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ระบบเผาผลาญก็จะเรียนรู้ให้ทำงานน้อยลง เเต่เมื่อหยุดยา หรือกลับมากินปกติ ระบบเผาผลาญปรับสมดุลไม่ทัน ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมได้
ซึ่งผลเสียของ โยโย่ เอฟเฟกต์ แน่นอนเลยว่า ส่งผลโดยตรงกับสมดุลฮอร์โมนของร่างกายที่เกี่ยวกับความหิว ทำให้บางทีอาจจะหิวมากกว่าเดิม หรืออยากกินอาหารมากขึ้นได้ อีกทั้งอาจจะมีมวลไขมันที่เพิ่มมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดลง เพราะเมื่ออดอาหาร ร่างกายจะดึงเอามวลกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทน
ดังนั้น แนวทางการลดน้ำหนัก ไม่ให้เกิดสภาวะโยโย่ เอกเฟกต์ คือ
- กำหนดเป้าหมายในการลดน้ำหนักให้ชัดเจน โดยการเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ได้ผลระยะยาวมากกว่า ผลระยะสั้น โดยระยะ 1 เดือนแรกควรเริ่มลดน้ำหนักที่ 5% ของน้ำหนักตัวปัจจุบันก่อน และค่อยขยับไปที่ 10% ในเดือนที่ 2 เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับสมดุลต่าง ๆ ไปพร้อมกับการลดน้ำหนัก
- กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน 5 หมู่ โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพลังงานสูง เช่น น้ำหวาน ของหวาน อาหารทอด มัน เบเกอรี่ต่าง ๆ เป็นต้น แล้วเลือกเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ โปรตีนสูง และมีใยอาหารสูง
- ห้ามอดอาหาร เนื่องจากเมื่ออดอาหาร ร่างกายจะพยายามหาพลังงานมาใช้ โดยมักจะดึงเอาพลังงานจากกล้ามเนื้อมาเผาผลาญ ทำให้เราจะรู้สึกหิว และอยากกินอาหารมากขึ้น
- เพิ่มกิจกรรมทางกายให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการสมดุลระหว่างการลดพลังงานจากอาหารที่รับประทาน และการใช้พลังงานของร่างกาย
เพียงเท่านี้ การลดน้ำหนักก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว เพียงแต่ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับระบบเผาผลาญของร่างกาย และปรับวิธีการลดน้ำหนักให้ร่างกายสามารถที่จะมีสุขภาพที่ดี และน้ำหนักลดลงตามความต้องการควบคู่ไปด้วยกัน
If you suffer from constant stomach pain, rashes or tiredness your symptoms might come from intolerances to food, dust or other items in your environment. Listen to your body and do not hesitate to check your intolerant status today. Untreated intolerances can become chronic and should be detected and treated as early as possible.
Check also for further information:
1. Minesh Khatri, MD. (2022). What Happens to Your Body When You Yo-Yo Diet. [WebMD]
2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2020).คุมน้ำหนักอย่างไรไม่ให้กลับมาYOYO Effect. [กรมอนามัย ออนไลน์]