การลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันประเทศไทยพบความชุกของภาวะอ้วน (Obesity) ที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งภาวะอ้วนจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่อาจจะตามมาในภายหลังได้ ดังนั้น หลาย ๆ คนจึงกำลังมองหาการลดน้ำหนัก เพื่อให้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และเพื่อสุขภาพที่ดี โดยวิธีการลดน้ำหนักมีหลากหลายวิธีมาก เช่น การจำกัดพลังงาน การจำกัดเวลาในการกิน การจำกัดอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะแพ้ เป็นต้น
วิธีการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ ควรทำให้น้ำหนักของร่างกายลดลงได้ตามเป้าหมาย และยังช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นในระยะยาว โดยบทความวิชาการของ the journal Frontiers in Endocrinology ปี 2021 ว่าด้วย สาเหตุหลักของภาวะอ้วน คือ ความไม่สมดุลของพลังงานระหว่างการบริโภคและพลังงานที่ใช้ไป ซึ่งวิธีการควบคุมสมดุลของพลังงาน สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหาร และเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยมีบทความรีวิวงานวิจัยของ Journal of Obesity & Metabolic Syndrome เกี่ยวกับการควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักและการรักษาน้ำหนักให้คงเดิมในปี 2021 นั้นได้ทำการสรุปไว้ว่า การทำให้เกิดพลังงานส่วนต่าง (Calorie deficit) หรือการรับประทานอาหารให้น้อยกว่าการที่ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ออกไป เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้น้ำหนักลด และเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นลดน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
วิธีการทำให้เกิดพลังงานส่วนต่าง (Calorie deficit) สามารถเริ่มต้นจากการทราบความต้องการพลังงานของร่างกายแต่ละคนก่อน โดยปกติแล้วผู้ชายจะมีความต้องการพลังงานอยู่ประมาณ 2,000 – 2,500 กิโลแคลอรี/วัน และผู้หญิงจะมีความต้องการพลังงานอยู่ที่ 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรี/วัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ น้ำหนักตัว และกิจกรรมทางกายของแต่ละคนด้วย
โดยเราสามารถคำนวณความต้องการพลังงานของร่างกายของแต่ละคนได้อย่างง่าย ๆ และรวดเร็ว โดยการใช้น้ำหนักตัว และระดับกิจกรรมทางกายที่ร่างกายทำในแต่ละวัน ดังนี้
ความต้องการพลังงานของร่างกายต่อวัน = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) x ระดับกิจกรรมทางกาย
หมายเหตุ :
– กิจกรรมระดับเบา (นั่งหรือนอนนิ่ง/นอนติดเตียง/ผู้สูงอายุ): 25 กิโลแคลอรี x น้ำหนัก (กิโลกรัม)
– กิจกรรมระดับปกติ (ทำงานออฟฟิศ นั่งอยู่กับที่ /ไม่ได้ออกกำลังกาย): 30 กิโลแคลอรี x น้ำหนัก (กิโลกรัม)
– กิจกรรมหนักระดับปานกลาง (ออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์): 35 กิโลแคลอรี x น้ำหนัก (กิโลกรัม)
– กิจกรรมหนักระดับมาก (ออกกำลังกาย 5 ครั้ง/สัปดาห์): 40 กิโลแคลอรี x น้ำหนัก (กิโลกรัม)
– กิจกรรมหนักระดับมากที่สุด (ออกกำลังกายทุกวัน): 45 กิโลแคลอรี x น้ำหนัก (กิโลกรัม)
ยกตัวอย่างเช่น : น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม และมีกิจกรรมในระดับปกติ จะมีความต้องการพลังงานเท่ากับ 1,500 กิโลแคลอรี
หลังจากนั้น จะเป็นการลดพลังงานจากอาหารที่รับประทาน โดยพลังงานในการบริโภคต่อวันไม่ควรเกินจากพลังงานที่ร่างกายใช้ ซึ่งจะเริ่มต้นให้ลดลง 500 กิโลแคลอรี จากพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน โดยจะส่งผลทำให้น้ำหนักลดลง 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และใน 6 เดือน ควรลดให้ได้ 5-10 % ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน ซื่งการจำกัดพลังงานไม่ควรเกิน 800 กิโลแคลอรีต่อวัน เพราะอาจจะเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารได้ ซึ่งวิธีจำกัดพลังงานในการบริโภคต่อวัน ยังสามารถจำกัดการรับประทานอาหารประเภทไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ที่มีปริมาณพลังงานสูง เพื่อที่จะช่วยลดปริมาณพลังงานที่บริโภคต่อวันได้เช่นเดียวกัน
Nutrition Calculations Reference Sheet
If you suffer from constant stomach pain, rashes or tiredness your symptoms might come from intolerances to food, dust or other items in your environment. Listen to your body and do not hesitate to check your intolerant status today. Untreated intolerances can become chronic and should be detected and treated as early as possible.
Check also for further information:
Optimal Diet Strategies for Weight Loss and Weight Loss Maintenance
Obesity: Epidemiology, Pathophysiology, and Therapeutics