อาหารแบบลดแป้งช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่
การรับประทานอาหารแบบลดแป้ง หรือ (Low Carb Diet) คือการจำกัดหรือลดปริมาณการรับประทานอาหารกลุ่มข้าวแป้งให้น้อยลง เพื่อให้ได้รับพลังงานจากการรับประทานอาหารลดลง เนื่องมาจากการที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นนั้นมาจากการได้รับพลังงานมากเกินกว่าความจำเป็น ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นอาหารกลุ่มข้าว แป้ง น้ำตาล ที่มีสัดส่วนในการบริโภคสูงมากใน 1 วัน
หลักการของ Low carb diet เป็นการควบคุมระดับฮอร์โมนอินซูลิน ที่เกิดจากการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งอาหารกลุ่มนี้เมื่อถูกย่อยแล้วจะกลายเป็นน้ำตาลส่งเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตน้อยลง ปริมาณฮอร์โมนอินซูลินก็จะต่ำ และทำให้ร่างกายนำไขมันที่สะสมอยู่ ออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน จึงทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ เพราะฉะนั้นการควบคุมการรับประทานอาหารจำพวกข้าวแป้ง สามารถควบคุมปริมาณอาหารกลุ่มนี้ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- กลุ่มข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวขาว ข้าวเหนียว ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นต้น
- กลุ่มอาหารประเภทเส้นต่าง ๆ เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น พาสต้า เป็นต้น
- กลุ่มธัญพืช เช่น ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ลูกเดือย เป็นต้น
- กลุ่มขนมปัง ทั้ง ขนมปังขาว โฮตวีท ไรย์
- กลุ่มพืชประเภทหัว เช่น มัน เผือก ฟักทอง มันฝรั่ง ข้าวโพด เป็นต้น
- กลุ่มขนมหวานและเบเกอรี่ เนื่องจากผลิตมาจากแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่
- กลุ่มน้ำหวาน น้ำผลไม้ เพราะมีส่วนประกอบของน้ำตาลเป็นหลัก
- กลุ่มผลไม้ จะให้สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล
- กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์จากนม จะสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ในรูปแบบของน้ำตาลแลกโทส (Lactose) ซึ่งเมื่อผู้ที่มีภาวะพร่องต่อการย่อยน้ำตาลแลกโทสก็จะทำให้ท้องอืด ไม่สบายท้อง หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกัน
โดยวิธีการกินอาหารแบบ Low carb ที่ได้รับความนิยมจะมีการจำกัดการกินคาร์โบไฮเดรตให้น้อยที่สุด โดยกำหนดให้อยู่ที่ 20 – 50 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 5% ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน (โดยปกติคนเราจะทานคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ประมาณ 300 กรัม/วัน) ดังนี้
– ระยะเริ่มต้น (2 สัปดาห์แรก) ให้ลดการกินคาร์โบไฮเดรต ให้เหลือวันละ 20 กรัม และเน้นให้รับประทานโปรตีนที่มากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ปลา และเน้นการกินผัก โดยเน้นผักใบเป็นส่วนใหญ่ ในระยะนี้จะทำให้น้ำหนักลดลงได้มากและเร็วที่สุด
– ระยะที่ 2 (สัปดาห์ที่ 3 ) เริ่มกินคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น สามารถที่จะเพิ่มทีละน้อยในแต่ละวัน จนถึงสัปดาห์ที่ 4 ซึ่งสามารถให้กินคาร์โบไฮเดรตได้วันละ 30-35 กรัมต่อวัน จะทำให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือหากมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ให้ลดคาร์โบไฮเดรตลง แต่ไม่ให้ต่ำกว่า 5-10 กรัมต่อมื้ออาหาร
– ระยะที่ 3 เป็นระยะที่จะต้องรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ซึ่งสามารถกินคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น 10 กรัมต่อสัปดาห์ โดยน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น
– ระยะที่ 4 ช่วงสุดท้าย สามารถกินอาหารได้หลากหลาย แต่ยังคงให้ควบคุมปริมาณการรับประทานคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้น้ำหนักตัวคงที่
ทั้งนี้การควบคุมอาหารแบบ Low carb diet ไม่แนะนำให้ใช้ในระยะยาวเกินกว่า 1 เดือน เนื่องจากอาจจะเกิดผลกระทบที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ หากร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรตนาน อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ร่างกายอ่อนแรง และขาดสารอาหารได้ หากได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจแล้วแล้ว ควรกลับมารับประทานอาหารที่ครบถ้วน 5 หมู่ในปริมาณที่เพียงพอ หลากหลาย และสมดุล ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดีที่ยั่งยืนในระยะยาวจะดีมากกว่า
หากคุณมักมีปัญหากับการปวดท้อง ผื่นขึ้น หรืออ่อนเพลียอยู่เสมอ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีภาวะภูมิแพ้แฝงต่ออาหารบางชนิด หรือภูมิแพ้แฝงต่อฝุ่นและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ฟังร่างกายของคุณและอย่าลังเลที่จะตรวจภูมิแพ้แฝงเพราะหากคุณเพิกเฉยต่ออาการเหล่านี้ ภาวะนี้จะเป็นเรื้อรังและก่อให้เกิดอาการมากขึ้น ตรวจวันนี้เพื่อทราบปัญหาที่ตรงจุดและหยุดอาการกวนใจ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
1. Robert Oh; Brian Gilani; Kalyan R. Uppaluri. (2023). Low-Carbohydrate Diet. [National Library of Medicine]
2. Gary D Foster. (2003). A randomized trial of a low-carbohydrate diet for obesity. [PubMed]
3. Shaozhao Zhang. (2019). Low-Carbohydrate Diets and Risk of Incident Atrial Fibrillation: A Prospective Cohort Study. [PubMed]